หอยแครง (ark shell)
หอยแครง (ark shell)
หอยแครง (ark shell) จัดเป็นหอยทะเลที่นิยมรับประทานมากชนิดหนึ่ง เนื่องจาก มีเนื้อมาก เนื้อนุ่มเหนียว ให้รสหวาน และสามารถปรุงได้ง่าย นิยมนำมาลวกรับประทาน และใช้ประกอบอาหาร รวมถึงแปรรูปเป็นอาหารต่าง อาทิ หอยแครงดอง หอยแครงอบแห้ง เป็นต้น นอกจากนั้น ยังเป็นหอยที่พบมากในชายฝั่งของประเทศไทย สามารถเลี้ยงง่าย แพร่พันธุ์ได้จำนวนมาก และเติบโตเร็ว
• ชื่อวิทยาศาสตร์ : Anadara granosa
• ชื่ออังกฤษ :
– cockle
– ark shell
• ชื่ออังกฤษ :
– cockle
– ark shell
อนุกรมวิธาน
Phylum : Mollusca
Class : Bivalvia
Order : Taxodonta
Family : Arcidae
Genus : Anadara
Species : granosa
Phylum : Mollusca
Class : Bivalvia
Order : Taxodonta
Family : Arcidae
Genus : Anadara
Species : granosa
ลักษณะทั่วไป
หอยแครง เป็นหอยสองฝา ที่มีขนาด และลักษณะของฝาทั้งด้านบน และด้านล่างเหมือนกัน ลำตัวถูกหุ้มด้วยเปลือกหินปูนหนา และแข็ง เปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ แต่หากอยู่ในน้ำตื้น จะมีสีเป็นสีขาว เปลือกหุ้มมีลักษณะค่อนข้างกลม แผ่นเปลือกโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม บนแผ่นเปลือกมีสันนูน ด้านละ 20 อัน ขนาดหอยใหญ่ได้ถึง 7 ซม.
หอยแครง เป็นหอยสองฝา ที่มีขนาด และลักษณะของฝาทั้งด้านบน และด้านล่างเหมือนกัน ลำตัวถูกหุ้มด้วยเปลือกหินปูนหนา และแข็ง เปลือกมีสีน้ำตาลอมดำ แต่หากอยู่ในน้ำตื้น จะมีสีเป็นสีขาว เปลือกหุ้มมีลักษณะค่อนข้างกลม แผ่นเปลือกโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลม บนแผ่นเปลือกมีสันนูน ด้านละ 20 อัน ขนาดหอยใหญ่ได้ถึง 7 ซม.
ภายในเปลือกเป็นลำตัวของหอย ตัวหอยมีสีน้ำตาลแดง คล้ายเลือดมนุษย์เพราะมีสารฮีโมโกลบิล มีกล้ามเนื้อยึดเปลือกแน่น ส่วนหัวที่เห็นไม่ชัด มีเหงือกขนาดใหญ่ไว้สำหรับหายใจ และช่วยในการกรองอาหาร มีการผสมพันธุ์ภายนอกตัว เมื่อระยะตัวอ่อนจะเป็นแพลงตอนขนาเล็ก และค่อยเติบโตสร้างเปลือกจนกลายเป็นรูปร่างหอย
ลักษณะเด่นของหอยแครง
– ฝาหอยทั้ง 2 ฝา มีขนาดเท่ากัน และมีลักษณะเหมือนกัน
– ส่วนที่ยึดติดของฝาทั้งสองมีลักษณะเป็นบานพับ
– ส่วนหัวมองเห็นไม่ชัด
– ไม่พบแผงฟันในช่องปาก
– เหงือกสำหรับหายใจมีขนาดใหญ่
– ผสมพันธุ์ภายในตัวเอง
– ตัวอ่อนเป็นแพลงก์ตอน
– ฝาหอยทั้ง 2 ฝา มีขนาดเท่ากัน และมีลักษณะเหมือนกัน
– ส่วนที่ยึดติดของฝาทั้งสองมีลักษณะเป็นบานพับ
– ส่วนหัวมองเห็นไม่ชัด
– ไม่พบแผงฟันในช่องปาก
– เหงือกสำหรับหายใจมีขนาดใหญ่
– ผสมพันธุ์ภายในตัวเอง
– ตัวอ่อนเป็นแพลงก์ตอน
แหล่งอาศัย และการแพร่กระจาย
หอยแครงพบแพร่กระจาย และอาศัยมากบริเวณชายฝั่งที่มีโคลน ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 1-3 กม. อาศัยในระดับความลึกตั้งแต่ 1-3 เมตร โดยจะฝังตัวในโคลนลึกลงไปประมาณ 1-25 ซม. ซึ่งขึ้นกับฤดูกาล และระดับน้ำขึ้นน้ำลง หากน้ำลดจะฝังตัวลงลึก เพื่อป้องกันแดด หากน้ำขึ้นจะฝั่งตัวตื้นๆ พบมากในจังหวัดเพชรบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และปัตตานี
หอยแครงพบแพร่กระจาย และอาศัยมากบริเวณชายฝั่งที่มีโคลน ห่างจากฝั่งออกไปประมาณ 1-3 กม. อาศัยในระดับความลึกตั้งแต่ 1-3 เมตร โดยจะฝังตัวในโคลนลึกลงไปประมาณ 1-25 ซม. ซึ่งขึ้นกับฤดูกาล และระดับน้ำขึ้นน้ำลง หากน้ำลดจะฝังตัวลงลึก เพื่อป้องกันแดด หากน้ำขึ้นจะฝั่งตัวตื้นๆ พบมากในจังหวัดเพชรบุรี ชลบุรี สุราษฎร์ธานี และปัตตานี
หอยแครงที่พบในประเทศไทย
1. หอยแครงเทศ (Anadara grosa)
เป็นหอยแครงที่พบมาก และนิยมนำมารับประทาน มีขนาดเปลือก 3-7 ซม. พบมากตามชายฝั่งที่มีโคลนละเอียด พบมากในจังหวัด
– ตราด
– จันทบุรี
– ชลบุรี
– สมุทรสาคร
– สุราษฎร์ธานี
– นครศรีธรรมราช
– สตูล
– ปัตตานี
– ตรัง
– ระยอง
2. หอยแครงขุ่ย/หอยแครงปากมุ้ม (Anadara nodifera)
เป็นหอยแครงที่มีลักษณะคล้ายกับหอยแครงเทศ แต่เปลือกมีรูปยาวรีกว่า เปลือกมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบมากในจังหวัดเดียวกับหอยแครงเทศ
3. หอยแครงมัน (Anadara trocheli)
เป็นหอยแครงที่มีลักษณะฝารูปหัวใจ พบได้มาในทะเลฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัดพังงา-สตูล
4. หอยแครงเบี้ยว (Anadara antoqunta)
เป็นหอยแครงที่มีฝายาวรี ฝามีลักษณะคล้ายหอยแครงขน แต่ไม่มีขน พบมากที่จังหวัด
– ชลบุรี
– เกาะปราบ สุราษฎร์ธานี
5. หอยแครงขน (Scapharca ineauivalvis)
เป็นหอยแครงที่มีฝาใหญ่ และขนาดฝาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ผิวเปลือกมีขน พบมากในระดับน้ำค่อนข้างลึก บริเวณจังหวัด
– ตราด
– เพชรบุรี
– ภูเก็ต
– สงขลา
1. หอยแครงเทศ (Anadara grosa)
เป็นหอยแครงที่พบมาก และนิยมนำมารับประทาน มีขนาดเปลือก 3-7 ซม. พบมากตามชายฝั่งที่มีโคลนละเอียด พบมากในจังหวัด
– ตราด
– จันทบุรี
– ชลบุรี
– สมุทรสาคร
– สุราษฎร์ธานี
– นครศรีธรรมราช
– สตูล
– ปัตตานี
– ตรัง
– ระยอง
2. หอยแครงขุ่ย/หอยแครงปากมุ้ม (Anadara nodifera)
เป็นหอยแครงที่มีลักษณะคล้ายกับหอยแครงเทศ แต่เปลือกมีรูปยาวรีกว่า เปลือกมีรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า พบมากในจังหวัดเดียวกับหอยแครงเทศ
3. หอยแครงมัน (Anadara trocheli)
เป็นหอยแครงที่มีลักษณะฝารูปหัวใจ พบได้มาในทะเลฝั่งอันดามัน บริเวณจังหวัดพังงา-สตูล
4. หอยแครงเบี้ยว (Anadara antoqunta)
เป็นหอยแครงที่มีฝายาวรี ฝามีลักษณะคล้ายหอยแครงขน แต่ไม่มีขน พบมากที่จังหวัด
– ชลบุรี
– เกาะปราบ สุราษฎร์ธานี
5. หอยแครงขน (Scapharca ineauivalvis)
เป็นหอยแครงที่มีฝาใหญ่ และขนาดฝาทั้งสองข้างไม่เท่ากัน ผิวเปลือกมีขน พบมากในระดับน้ำค่อนข้างลึก บริเวณจังหวัด
– ตราด
– เพชรบุรี
– ภูเก็ต
– สงขลา
พฤติกรรม และการกินอาหารของหอยแครง
หอยแครงเป็นสัตว์ที่ฝังตัวอยู่ใต้โคลนบริเวณหาดชายเลน หากน้ำลดจะฝังตัวลงลึกเพื่อป้องกันแสงแดด ส่วนการหาอาหาร หอยแครงจะฝังตัวในโคลนตื้นๆ โดยจะหงายฝาด้านที่ใช้เปิดขึ้นเล็กน้อย โดยให้ฝาด้านหนึ่งดูดน้ำเข้า และฝาอีกด้านพ่นน้ำออก ขณะดูดน้ำเข้าในฝานั้น หอยแครงจะใช้เหงือกกรองอาหาร และพัดอาหารเข้าสู่ปาก โดยมีอาหารหลักเป็นแพลงค์ตอนพืช และแพลงค์ตอนสัตว์ รวมถึงอินทรีย์วัตถุขนาดเล็กต่างๆ ส่วนสิ่งขับถ่าย โคลน ดิน และน้ำทะเล จะถูกพ่นออกมาอีกด้านหนึ่ง
หอยแครงเป็นสัตว์ที่ฝังตัวอยู่ใต้โคลนบริเวณหาดชายเลน หากน้ำลดจะฝังตัวลงลึกเพื่อป้องกันแสงแดด ส่วนการหาอาหาร หอยแครงจะฝังตัวในโคลนตื้นๆ โดยจะหงายฝาด้านที่ใช้เปิดขึ้นเล็กน้อย โดยให้ฝาด้านหนึ่งดูดน้ำเข้า และฝาอีกด้านพ่นน้ำออก ขณะดูดน้ำเข้าในฝานั้น หอยแครงจะใช้เหงือกกรองอาหาร และพัดอาหารเข้าสู่ปาก โดยมีอาหารหลักเป็นแพลงค์ตอนพืช และแพลงค์ตอนสัตว์ รวมถึงอินทรีย์วัตถุขนาดเล็กต่างๆ ส่วนสิ่งขับถ่าย โคลน ดิน และน้ำทะเล จะถูกพ่นออกมาอีกด้านหนึ่ง
การสืบพันธุ์ของหอยแครง
หอยแครงเริ่มมีอวัยวะสืบพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน หรือมีขนาดฝาประมาณ 1 ซม. และเริ่มสืบพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 3 เดือน หรือมีขนาดฝาประมาณ 1.70 ซม. ขึ้นไป โดยสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่จะวางไข่มากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมีน้ำฝนไหลลงชายฝั่ง ทำให้ระดับความเค็มลดลงในระดับที่เหมาะสมกับการวางไข่
หอยแครงเริ่มมีอวัยวะสืบพันธุ์ได้ตั้งแต่อายุ 1 เดือน หรือมีขนาดฝาประมาณ 1 ซม. และเริ่มสืบพันธุ์เมื่ออายุประมาณ 3 เดือน หรือมีขนาดฝาประมาณ 1.70 ซม. ขึ้นไป โดยสามารถวางไข่ได้ตลอดทั้งปี แต่จะวางไข่มากที่สุดในช่วงเดือนกรกฎาคม เนื่องจากมีน้ำฝนไหลลงชายฝั่ง ทำให้ระดับความเค็มลดลงในระดับที่เหมาะสมกับการวางไข่
การสืบพันธุ์ของหอยแครงจะแยกเพศ แต่เพศจะมีอยู่ในหอยตัวเดียวกัน ซึ่งเมื่ออวัยวะเพศสมบูรณ์ หอยแครงจะฉีดน้ำเชื้อ และไข่เข้าผสมกันภายในตัวหอย แล้วจะปล่อยไข่ที่ผสมแล้วให้ลอยตามกระแสน้ำ และตกบริเวณริมชายฝั่งที่มีโคลน
สภาวะแวดล้อมที่เหมาะสมต่อหอยแครง
1. บริเวณชายฝั่งที่เป็นปากแม่น้ำ และมีดินเลนหรือโคลนมาก เนื่องจากมีสารอาหารสูง
2. พื้นที่เป็นดินเลนหรือโคลนที่มีลักษณะเรียบ ไม่ขรุขระ และลาดเอียงน้อยกว่า 15 องศา
3. ดินเลนหรือโคลนมีเนื้อละเอียด มีความลึกประมาณ 30-50 ซม.
4. ดินเลนหรือโคลนมีการทับถมของซากพืช ซากสัตว์หรืออินทรีย์วัตถุต่างๆ
4. ความลึกของน้ำทะเลประมาณ 0.5-2 เมตร
5. มีการเปลี่ยนแปลงของความเค็มในช่วง 10.0-30.0 ppm
6. ไม่อยู่ใกล้ชุมชน อุตสาหกรรมหรือแหล่งมลพิษ
1. บริเวณชายฝั่งที่เป็นปากแม่น้ำ และมีดินเลนหรือโคลนมาก เนื่องจากมีสารอาหารสูง
2. พื้นที่เป็นดินเลนหรือโคลนที่มีลักษณะเรียบ ไม่ขรุขระ และลาดเอียงน้อยกว่า 15 องศา
3. ดินเลนหรือโคลนมีเนื้อละเอียด มีความลึกประมาณ 30-50 ซม.
4. ดินเลนหรือโคลนมีการทับถมของซากพืช ซากสัตว์หรืออินทรีย์วัตถุต่างๆ
4. ความลึกของน้ำทะเลประมาณ 0.5-2 เมตร
5. มีการเปลี่ยนแปลงของความเค็มในช่วง 10.0-30.0 ppm
6. ไม่อยู่ใกล้ชุมชน อุตสาหกรรมหรือแหล่งมลพิษ
ศัตรูของหอยแครง
1. หอยหมู
หอยชนิดนี้จะเกาะที่ปากหอยแครง แล้วปล่อยน้ำพิษเข้าในหอยแครงขณะที่หอยแครงอ้าเปลือกออก หลังจากนั้น หอยแครงจะอ้าเปลือกออกมากจนหอยหมูสามารถกัดกินเนื้อข้างในได้ ดังนั้น การเลี้ยงฟาร์มหอยแครงจำเป็นต้องคอยเก็บหอยหมู แล้วนำมาตากแดดให้หมด
2. หอยตะกาย
หอยชนิดนี้จะใช้วิธีเจาะผ่านฝาหอย แล้วดูดกินเนื้อหอยแครง
3. หอยกระพง
หอยชนิดนี้จะไม่มีผลต่อหอยแครงโดยตรง แต่เป็นหอยที่ปล่อยสารเป็นเส้นคล้ายเส้นด้าย สารนี้เมื่อตกลงดินจะทำให้หน้าดินโคลนแข็ง ทำให้หอยแครงฝังตัวลงโคลนได้ยาก ซึ่งแก้ได้โดยใช้ไม้กระดานเกลี่ยหน้าดินให้เส้นด้ายแตกกระจาย ไม่รวมตัวกัน
4. ปลากินลูกหอยชนิดต่างๆ อาทิ ปลากด ปลาดาว และปลากระเบน เป็นต้น
1. หอยหมู
หอยชนิดนี้จะเกาะที่ปากหอยแครง แล้วปล่อยน้ำพิษเข้าในหอยแครงขณะที่หอยแครงอ้าเปลือกออก หลังจากนั้น หอยแครงจะอ้าเปลือกออกมากจนหอยหมูสามารถกัดกินเนื้อข้างในได้ ดังนั้น การเลี้ยงฟาร์มหอยแครงจำเป็นต้องคอยเก็บหอยหมู แล้วนำมาตากแดดให้หมด
2. หอยตะกาย
หอยชนิดนี้จะใช้วิธีเจาะผ่านฝาหอย แล้วดูดกินเนื้อหอยแครง
3. หอยกระพง
หอยชนิดนี้จะไม่มีผลต่อหอยแครงโดยตรง แต่เป็นหอยที่ปล่อยสารเป็นเส้นคล้ายเส้นด้าย สารนี้เมื่อตกลงดินจะทำให้หน้าดินโคลนแข็ง ทำให้หอยแครงฝังตัวลงโคลนได้ยาก ซึ่งแก้ได้โดยใช้ไม้กระดานเกลี่ยหน้าดินให้เส้นด้ายแตกกระจาย ไม่รวมตัวกัน
4. ปลากินลูกหอยชนิดต่างๆ อาทิ ปลากด ปลาดาว และปลากระเบน เป็นต้น
ประโยชน์หอยแครง
1. เนื้อหอยนำมาลวกน้ำร้อนรับประทาน
2. เนื้อหอยแปรรูปเป็นหอยแครงดอง หอยแครงตากแห้ง เป็นต้น สำหรับใส่ในส้มตำหรือใช้ประกอบอาหารต่างๆ
3. เปลือกหอยแครงนำไปเผาเพื่อผลิตปูนขาวหรือผลิตแคลเซียมคาร์บอเนต
1. เนื้อหอยนำมาลวกน้ำร้อนรับประทาน
2. เนื้อหอยแปรรูปเป็นหอยแครงดอง หอยแครงตากแห้ง เป็นต้น สำหรับใส่ในส้มตำหรือใช้ประกอบอาหารต่างๆ
3. เปลือกหอยแครงนำไปเผาเพื่อผลิตปูนขาวหรือผลิตแคลเซียมคาร์บอเนต
เปลือกหอยแครง
เปลือกหอยแครง กว่าร้อยละ 95 จะประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ส่วนที่เหลือจะเป็น
– แคลเซียมฟอสเฟต
– แมกนีเซียมฟอสเฟต
– แมกนีเซียมซิลิเกต
– แมกนีเซียมคาร์บอเนต
– โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน (conchinolim)
เปลือกหอยแครง กว่าร้อยละ 95 จะประกอบด้วย แคลเซียมคาร์บอเนต (calcium carbonate) ส่วนที่เหลือจะเป็น
– แคลเซียมฟอสเฟต
– แมกนีเซียมฟอสเฟต
– แมกนีเซียมซิลิเกต
– แมกนีเซียมคาร์บอเนต
– โปรตีนประเภทคอนไคโอลิน (conchinolim)
เปลือกหอยแครง แบ่งเป็น 3 ชั้น ได้แก่
1. ชั้นนอกสุด (Periostracum layer)
ชั้นนี้ประกอบด้วยสารหลัก คือโปรตีนประเภทคอนไคโอลิน ที่ทำให้เปลือกด้านนอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ซึ่งเป็นชั้นบางๆ และหลุดได้ง่าย
2. ชั้นกลาง (Prismatic layer)
เป็นชั้นที่ประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมที่อยู่ในรูปผลึกแคลไซท์ (calcite) เป็นส่วนมาก ร่วมกับสารประกอบอื่นๆ ชั้นนี้จะหนา และแข็งมากที่สุด
3. ชั้นในสุด/ชั้นมุก (Nacreous layer)
เป็นชั้นที่ประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมในรูปผลึกอราโกไนท์ (aragonite) มีสีขาวขุ่น เรียงตัวเป็นระเบียบ และเป็นมันวาว
1. ชั้นนอกสุด (Periostracum layer)
ชั้นนี้ประกอบด้วยสารหลัก คือโปรตีนประเภทคอนไคโอลิน ที่ทำให้เปลือกด้านนอกเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลดำ ซึ่งเป็นชั้นบางๆ และหลุดได้ง่าย
2. ชั้นกลาง (Prismatic layer)
เป็นชั้นที่ประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมที่อยู่ในรูปผลึกแคลไซท์ (calcite) เป็นส่วนมาก ร่วมกับสารประกอบอื่นๆ ชั้นนี้จะหนา และแข็งมากที่สุด
3. ชั้นในสุด/ชั้นมุก (Nacreous layer)
เป็นชั้นที่ประกอบด้วยผลึกของแคลเซียมในรูปผลึกอราโกไนท์ (aragonite) มีสีขาวขุ่น เรียงตัวเป็นระเบียบ และเป็นมันวาว
แคลเซียมคาร์บอเนต (CaCO3) จากเปลือกหอยแครงถูกนำไปใช้ประโยชน์ในด้านอุตสาหกรรมมากมาย ได้แก่
– อุตสาหกรรมกระดาษ ทำให้กระดาษมีสีขาว และเรียบเนียน
– อุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความขาว
– อุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อทำให้พลาสติกแข็งแรง หรือเพื่อทำให้เกิดสีขาว
– อุตสาหกรรมสี เพื่อให้สีขาว และการยึดเกาะที่ดี
– อุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดยเป็นสารให้แคลเซียมแก่ร่างกาย หรือใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ
– อุตสาหกรรมกระดาษ ทำให้กระดาษมีสีขาว และเรียบเนียน
– อุตสาหกรรมยาง เพื่อเพิ่มความขาว
– อุตสาหกรรมพลาสติก เพื่อทำให้พลาสติกแข็งแรง หรือเพื่อทำให้เกิดสีขาว
– อุตสาหกรรมสี เพื่อให้สีขาว และการยึดเกาะที่ดี
– อุตสาหกรรมทางการแพทย์ โดยเป็นสารให้แคลเซียมแก่ร่างกาย หรือใช้รักษาโรคเกี่ยวกับระบบหัวใจ
------------------------------------------------------------------------------------------
จัดทำโดย
นางสาวธนัชพร เกษสุริยงค์ ม.5/3 เลขที่26
เสนอ
คุณครูไพศาล อรุณศรีพิมาน
อ้างอิง
http://pasusat.com/%E0%B8%AB%E0%B8%AD%E0%B8%A2%E0%B9%81%E0%B8%84%E0%B8%A3%E0%B8%87/
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น